[Clip]Ost.Beck - Moon on the water

วันศุกร์, ธันวาคม ๒๑, ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ไทยใช้

ดาวเทียมที่ไทยใช้

ดาวเทียมธีออส เป็นชื่อย่อภาษาอังกฤษที่เรียก ดาวเทียมในโครงการพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย (Thailand Earth Observation Systems: THEOS) ซึ่งเป็นโครงการระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ดำเนินงานร่วมกับบริษัทเอียดส์ แอสเตรียม (EADS Astruim) ประเทศฝรั่งเศส เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 19 ก.ค.47 และมีกำหนดส่งดาวเทียมธีออสขึ้นสู่วงโคจรในเดือน ก.ค.50 “ธีออส” เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) น้ำหนัก 750 ก.ก. ที่ออกแบบให้มีอายุการใช้งาน 5 ปี สามารถบันทึกภาพขาวดำ (Panchromatic) ได้ที่รายละเอียด 2 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 22 กม. และบันทึกภาพสีหลายช่วงคลื่น (Multispectral)ได้ที่รายละเอียด 15 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 90 กม. ซึ่งบันทึกได้ 4 ช่วงคลื่นหรือแบนด์ ได้แก่

แบนด์ 1, 0.45-0.52 ไมครอน (น้ำเงิน)
แบนด์ 2, 0.53-0.62 ไมครอน (เขียว)
แบนด์ 3, 0.62-0.69 ไมครอน (แดง)
แบนด์ 4, 0.77-0.90 ไมครอน (อินฟาเรดใกล้)

การบันทึกภาพของดาวเทียมธีออสใช้ระบบถ่ายภาพเช่นเดียวกับกล้อง (Optical system) โดยใช้ “ซีซีดี” (Charge Coupled Devices:CCD) เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพ ณ ระนาบรวมแสงของระบบ ซึ่งจะแปลงข้อมูลจากแสงที่สะท้อนจากพื้นโลกให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และตัวเลนส์ของกล้องผลิตจากซิลิกอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide) ดาวเทียมธีออสมีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กม. จะโคจรมาที่จุดเดิมทุกๆ 26 วัน และโคจรรอบโลกทั้งสิ้น 369 วงโคจร ซึ่งระยะทางระหว่างวงโคจรแต่ละวงเท่ากับ 105 กม. สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วโลกภายใน 35 เมื่อใช้ระบบถ่ายภาพสี และใช้เวลา 130 วันถ่ายได้ครอบคลุมทั่วโลกเมื่อใช้ระบบถ่ายภาพขาว-ดำ

ความเป็นมาของดาวเทียมธีออส

ประชาไท—10 ส.ค. 48 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2547 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการพัฒนาดาวเทียม Remote Sensing ของประเทศไทย หรือดาวเทียมธีออส (THEOS) โดยขอผูกพันงบประมาณเป็นระยะเวลา 3 ปี (ปีงบประมาณ 2548-2550) ทั้งนี้ ดาวเทียมธีออสจะเป็นดาวเทียมดวงแรกของไทย โดยเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส ภายใต้สัญญาการค้าต่างตอบแทน (Counter Trade) โดยกระทรวงวิทยา ศาสตร์ฯ มีวัตถุประสงค์ในการจัดซื้อดาวเทียมดังกล่าวเพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศในระดับต่างๆ โดยนำมาประยุกต์ใช้ในด้านสร้างความมั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และป้องกันประเทศ

ขณะเดียวกัน ดาวเทียมดังกล่าวจะเสริมสร้างความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมด้วยเทคนิคต่างๆ รวมถึงส่งเสริมการประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างแพร่หลายและถูกต้อง รวมถึงสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเพิ่มขึ้นด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงเห็นว่าควรสนับสนุนให้ประเทศไทยมีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเป็นของตนเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายของโครงการรวมทั้งสิ้น 128.8 ล้านยูโร คิดเป็นวงเงิน 6,440 ล้านบาท

สำหรับดาวเทียมธีออสเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรขนาดเล็ก มีความละเอียดในการบันทึกภาพขาวดำ 2 เมตร และภาพสี 15 เมตร (ความละเอียดในการบันทึกภาพชัดเจนในพื้นที่ขนาด 2 และ15 ตร.ม.) กำหนดการยิงดาวเทียมดังกล่าวประมาณเดือน ก.ค. 2550 โดยจะมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี ขณะนี้ ดาวเทียมดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการสร้างที่ประเทศฝรั่งเศส โดยมีวิศวกรชาวไทยเข้าร่วมสร้างและศึกษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจนเสร็จสิ้นโครงการจำนวน 20 คน


http://www.rakbankerd.com/data/theos_a4.jpg

วันศุกร์, พฤศจิกายน ๑๖, ๒๕๕๐

ศัพท์IT


4921237086 น.ส. วรรธิดา คุณพงศ์ไพศาล

คำศัพท์ IT 15 คำ

1.teaching machine : เครื่องช่วยสอน

2.raster : การที่ลำแสงอิเล็กตรอนผ่านวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วส่งเข้าสู่จอภาพเช่นเดียวกับที่ใช้ในการกราดภาพ(Scan) คือ การยิงลำแสงอิเล็กตรอนให้ผ่านภาพไปอย่างต่อเนื่องทีละเส้น แล้วส่งขึ้นบนจอภาพตั้งแต่บรรทัดบนสุดจนถึงล่างสุด เราจะมองเห็นเส้นใหม่ก่อนที่เส้นเก่าจะหายไป เส้นที่มองเห็นนี้จะรวมถึงกันเป็นภาพที่เราต้องการ เรียกว่าภาพ "แรสเตอร์"


3.recongnition : การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับรู้สัมพันธ์ รวมทั้งแยกความแตกต่างระหว่างตัวอักขระ (character recognition) รูปแบบ (pattern recongnition) เสียง(Voice recongnition)แล้วถอดรหัสเป็นภาษาเครื่องได้

4.cam : ย่อมาจาก computer-aided manufacturing (การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย) หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตในโรงงาน เช่น การควบคุมจำนวนสินค้าที่ผลิต หรือควบคุมก่ำงานแต่ละส่วน เช่น การนับและการบรรจุ เป็นต้น

5.campus area network : ข่ายงานบริเวณวิทยาเขต หมายถึง ข่ายงานร่วมกันภายในแต่ละมหาวิทยาลัยที่มีวิทยาเขต (campus) หลายวิทยาเขต คอมพิวเตอร์ในแต่ละวิทยาเขต จะทำงานร่วมกันได้ใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมร่วมกันได้ ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ นับเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

6.large scale intergration : วงจรรวมความจุ นิยมใช้ตัวย่อว่า LSI เป็นเทคโนโลยีในการสร้างชิป(chip) ให้มีทรานซิสเตอร์จำนวนมากเป็นแสนตัวบนชิปตัวเดียว นำมาใช้เป็น active cell ในโปรแกรม spreadsheet เซลล์ซึ่งกำลังถูกใช้ทำกิจกรรม เซลที่กำลังถูกใช้จะมีแถบสว่างขึ้นบนหน้าจอภาพเซลแต่ละเซลจะถูกกำหนดโดย แถว (row) และคอลัมน์ (column)

7.Ada : เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาหนึ่งที่เรียกว่า procedural programming language ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2513 ชื่อของโปรแกรมตั้งตามชื่อของ ผู้บุกเบิกเรื่องคอมพิวเตอร์ คือ ออกกุสตา เอดา ไบรอน เคาน์เตสแห่งเลิฟเลส (Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace)

8.arithmetic logic unit : มักเรียกเป็นคำย่อว่า ALU เป็นวงจรของคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่คิดคำนวณ เปรียบเทียบและทำหน้าที่ทางตรรกะ คือหน้าที่ที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน ALU เป็นส่วนหนึ่งของวงจรที่อยู่ในชิพไมโครโพรเซสเซอร์ของคอมพิวเตอร์

9.Altair 8800 : คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ผลิตออกมาในปี พ.ศ. 2518 โดยบริษัท Micro Instrumentation Telemetry System แห่ง New Mexico เป็นคอมพิวเตอร์ขนาด 8-bit ใช้ Intel 8080 micro processor และมีขนาดหน่วยความจำ 256 ไบต์ จัดว่า Altair เป็น PC หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดแรก


10.bug : ความขัดข้อง หรือสิ่งผิดปกติในซอฟแวร์ หรือในฮาร์ดแวร์ ในซอฟท์แวร์ bug หมายถึง ความผิดปกติในรหัส หรือในตรรกะ ซึ่งเป็นเหตุให้โปรแกรมทำงานผิดปกติไป หรือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ผิดพลาดออกมา; ในฮาร์ดแวร์ เมื่อ bug เกิดขึ้นจะทำให้การทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม

11.carrier system : ระบบการสื่อสาร เป็นวิธีการสื่อสารซึ่งใช้ความถี่ต่างๆ กัน เพื่อส่งผ่านหรือถ่ายทอดสารสนเทศไปตามช่องสัญญานการสื่อสารแต่ละช่อง

12.database management system : มักใช้อักษรย่อว่า DBMS ซอฟแวร์ชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เตรียมข้อมูลให้พร้อมและเก็บรักษาไว้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ หรือเรียกออกมาจากฐานข้อมูล เป็นต้น DBMS เป็นตัวประสาน (inteface) ระหว่างโปรแกรม ผู้ใช้ และข้อมูลในฐานข้อมูล

13.electron gun : ปืนอีเล็กตรอน เครื่องมือสำหรับผลิตลำแสงอิเล็กตรอน มักใช้ประกอบอยู่ในหลอดภาพทีวี และในมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

14.garbage in, garbage out : มักใช้เป็นคำย่อว่า GIGO เป็นคำกล่าวที่เป็นจริงทางคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยหลักตรรกะที่เป็นจริงว่า ถ้าข้อมูลที่ผิดๆ ไม่ถูกต้องใส่เข้าไปในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็จะผิดพลาดด้วย

15.MCGA : คำย่อของคำว่า Multi-Color Graphics Array เป็น video adapter ชนิดหนึ่งที่ใช้กับ IBM PS/2 Model 25 และ 30 MCGA มีคุณภาพดีเท่าๆกับ CGA (Color/Graphics Adapter) สามารถทำงานทางกราฟฟิกได้ 2 ชนิด คือ 640*480 pixel 2 สี เลือกจากตัวอย่างสี 262,144 สี