[Clip]Ost.Beck - Moon on the water

วันศุกร์, ธันวาคม ๒๑, ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ไทยใช้

ดาวเทียมที่ไทยใช้

ดาวเทียมธีออส เป็นชื่อย่อภาษาอังกฤษที่เรียก ดาวเทียมในโครงการพัฒนาดาวเทียมสำรวจทรัพยากรสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย (Thailand Earth Observation Systems: THEOS) ซึ่งเป็นโครงการระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ดำเนินงานร่วมกับบริษัทเอียดส์ แอสเตรียม (EADS Astruim) ประเทศฝรั่งเศส เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 19 ก.ค.47 และมีกำหนดส่งดาวเทียมธีออสขึ้นสู่วงโคจรในเดือน ก.ค.50 “ธีออส” เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) น้ำหนัก 750 ก.ก. ที่ออกแบบให้มีอายุการใช้งาน 5 ปี สามารถบันทึกภาพขาวดำ (Panchromatic) ได้ที่รายละเอียด 2 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 22 กม. และบันทึกภาพสีหลายช่วงคลื่น (Multispectral)ได้ที่รายละเอียด 15 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 90 กม. ซึ่งบันทึกได้ 4 ช่วงคลื่นหรือแบนด์ ได้แก่

แบนด์ 1, 0.45-0.52 ไมครอน (น้ำเงิน)
แบนด์ 2, 0.53-0.62 ไมครอน (เขียว)
แบนด์ 3, 0.62-0.69 ไมครอน (แดง)
แบนด์ 4, 0.77-0.90 ไมครอน (อินฟาเรดใกล้)

การบันทึกภาพของดาวเทียมธีออสใช้ระบบถ่ายภาพเช่นเดียวกับกล้อง (Optical system) โดยใช้ “ซีซีดี” (Charge Coupled Devices:CCD) เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพ ณ ระนาบรวมแสงของระบบ ซึ่งจะแปลงข้อมูลจากแสงที่สะท้อนจากพื้นโลกให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และตัวเลนส์ของกล้องผลิตจากซิลิกอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide) ดาวเทียมธีออสมีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กม. จะโคจรมาที่จุดเดิมทุกๆ 26 วัน และโคจรรอบโลกทั้งสิ้น 369 วงโคจร ซึ่งระยะทางระหว่างวงโคจรแต่ละวงเท่ากับ 105 กม. สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วโลกภายใน 35 เมื่อใช้ระบบถ่ายภาพสี และใช้เวลา 130 วันถ่ายได้ครอบคลุมทั่วโลกเมื่อใช้ระบบถ่ายภาพขาว-ดำ

ความเป็นมาของดาวเทียมธีออส

ประชาไท—10 ส.ค. 48 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ให้ใช้งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2547 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการพัฒนาดาวเทียม Remote Sensing ของประเทศไทย หรือดาวเทียมธีออส (THEOS) โดยขอผูกพันงบประมาณเป็นระยะเวลา 3 ปี (ปีงบประมาณ 2548-2550) ทั้งนี้ ดาวเทียมธีออสจะเป็นดาวเทียมดวงแรกของไทย โดยเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศส ภายใต้สัญญาการค้าต่างตอบแทน (Counter Trade) โดยกระทรวงวิทยา ศาสตร์ฯ มีวัตถุประสงค์ในการจัดซื้อดาวเทียมดังกล่าวเพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศในระดับต่างๆ โดยนำมาประยุกต์ใช้ในด้านสร้างความมั่นคงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และป้องกันประเทศ

ขณะเดียวกัน ดาวเทียมดังกล่าวจะเสริมสร้างความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมด้วยเทคนิคต่างๆ รวมถึงส่งเสริมการประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างแพร่หลายและถูกต้อง รวมถึงสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเพิ่มขึ้นด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงเห็นว่าควรสนับสนุนให้ประเทศไทยมีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเป็นของตนเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายของโครงการรวมทั้งสิ้น 128.8 ล้านยูโร คิดเป็นวงเงิน 6,440 ล้านบาท

สำหรับดาวเทียมธีออสเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรขนาดเล็ก มีความละเอียดในการบันทึกภาพขาวดำ 2 เมตร และภาพสี 15 เมตร (ความละเอียดในการบันทึกภาพชัดเจนในพื้นที่ขนาด 2 และ15 ตร.ม.) กำหนดการยิงดาวเทียมดังกล่าวประมาณเดือน ก.ค. 2550 โดยจะมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี ขณะนี้ ดาวเทียมดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการสร้างที่ประเทศฝรั่งเศส โดยมีวิศวกรชาวไทยเข้าร่วมสร้างและศึกษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจนเสร็จสิ้นโครงการจำนวน 20 คน


http://www.rakbankerd.com/data/theos_a4.jpg